พื้นที่ นนทบุรี
โครงการ “การพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนเชิงสร้างสรรค์ บนฐานทุนทางวัฒนธรรมชุมชน : ระยะที่ 2”
Development of Creative Cultural Community Based Products : Phase 2
ทุนอุดหนุนการวิจัยประจำปี 2565 สำนักงานวิจัยแห่งชาติ (วช.) ดำเนินโครงการโดย มหาวิทยาลัยศิลปากร



จังหวัดนนทบุรี ตั้งอยู่ในพื้นที่ราบลุ่มที่มีความอุดมสมบูรณ์ มีผู้คนมาตั้งถิ่นฐานมายาวนานตามพื้นที่ ริมแม่น้ำเจ้าพระยา และแบ่งพื้นที่ของจังหวัดนนทบุรีออกเป็น 2 ส่วน คือ ฝั่งตะวันออก และฝั่งตะวันตก พื้นที่มีคูคลองตามธรรมชาติและคลองขุดขึ้นมาใหม่เพื่อเชื่อมโยงกัน เพื่อใช้เป็นทางสัญจรระหว่างชุมชน จัดเป็นพื้นที่ในเขตปริมณฑลของกรุงเทพมหานคร มีขนาดเนื้อที่ใหญ่เป็นอันดับที่ 75 ของประเทศ แต่มีประชากรหนาแน่นที่สุดเป็นอันดับที่ 2 รองจากกรุงเทพมหานครและมีประวัติความเป็นมาอันยาวนานที่มีความเกี่ยวข้องในแต่ละยุคสมัยจึงเต็มไปด้วยร่องรอยศิลปวัฒนธรรม นับเนื่องมาจากสมัยอยุธยามาจนถึงต้นกรุงรัตนโกสินทร์ โดยโบราณสถานหรือสถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ที่มีความเกี่ยวข้องกับประวัติศาตร์ความเป็นมาและพัฒนาการทางสังคมและชุมชนชาวนนทบุรี

หลักฐานการตั้งถิ่นฐานที่เก่าแก่ที่สุดในจังหวัดนนทบุรีปรากฏที่วัดปรางค์หลวง ตั้งอยู่ในตำบลบางม่วง อำเภอบางใหญ่ เป็นวัดที่มีพระปรางค์ลักษณะย่อมุมไม้ยี่สิบขนาดใหญ่ สันนิษฐานว่าสมเด็จพระรามาธิบดีที่1 (พระเจ้าอู่ทอง) โปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นเพื่อเป็นหลักแก่ชุมชนชาวเมืองอู่ทองที่อพยพหนีโรคระบาดมาตั้งบ้านเรือนอยู่บริเวณนี้ก่อนจะมีการสถาปนากรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานีชุมชนแห่งนี้ได้ขยายตัวและกระจัดกระจายออกไปตามพื้นที่ต่าง ๆ เมื่อปีพ.ศ. 2264 สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวท้ายสระโปรดเกล้าฯ ให้ขุดคลองลัดเกร็ดขึ้นตัดความโค้งของแม่น้ำเจ้าพระยาช่วงที่ไหลวกอ้อมไปทางบางบัวทอง ต่อมากระแสน้ำเปลี่ยนทิศทางการไหล ชายฝั่งทั้งสองข้างของคลองลัดเกร็ดถูกกัดเซาะให้ห่างออกจากกันมากขึ้น พื้นที่ตรงกลางที่มีน้ำล้อมรอบจึงกลายเป็นเกาะ เรียกว่า“เกาะเกร็ด”

หลังเสียกรุงศรีอยุธยา ในสมัยกรุงธนบุรีและกรุงรัตนโกสินทร์ชาวเมืองได้ย้ายกลับสู่ถิ่นฐานเดิม พร้อมทั้งมีผู้คนจากถิ่นอื่นเข้ามาในพื้นที่ด้วย ได้แก่ชาวมอญที่อพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานที่ปากเกร็ด และเมืองนนทบุรี นอกจากนี้ยังมีชาวไทยมุสลิมเมืองปัตตานีตั้งถิ่นฐานที่บ้านท่าอิฐ และบ้านบางบัวทอง ต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์โปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนสร้อยชื่อเมืองจากเดิมคือ เมืองนนทบุรีศรีมหาสมุทร เป็น เมืองนนทบุรีศรีมหาอุทยาน และต่อมาเปลี่ยนเป็น เมืองนนทบุรีศรีเกษตราราม ในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นนี้ เมืองนนทบุรีมีฐานะเป็นหัวเมืองชายทะเล สังกัดกรมท่า เมืองนนทบุรีจึงจัดอยู่ในมณฑลกรุงเทพ แบ่งเขตการปกครองออกเป็น 4 อำเภอ ได้แก่ อำเภอตลาดขวัญ อำเภอบางใหญ่ อำเภอบางบัวทอง และอำเภอปากเกร็ด ส่วนศาลากลางเมืองนนทบุรีนั้น โปรดเกล้าฯ ให้ย้ายจากปากคลองอ้อม บ้านบางศรีเมือง มาตั้งอยู่ที่ปากคลองบางซื่อใกล้วัดท้ายเมือง จนกระทั่งปีพ.ศ. 2459 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนคำว่าเมืองเป็น “จังหวัด” เมืองนนทบุรีจึงเปลี่ยนชื่อเรียกเป็น จังหวัดนนทบุรีนอกจากนี้ ในปีพ.ศ. 2471 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้ย้ายศาลากลางจังหวัดนนทบุรีมาตั้งที่โรงเรียนราชวิทยาลัย ศาลากลางจังหวัดแห่งนี้ตั้งอยู่ห่างจากที่ทำการเมืองและศาลากลางจังหวัดนนทบุรีในอดีตลงมาทางทิศใต้ ปัจจุบันก็คือศาลากลางจังหวัดหลังเก่าบริเวณท่าน้ำนนทบุรีนั่นเอง

สถานที่ประวัติศาสตร์ที่สำคัญของนนทบุรี เช่น ศาลหลักเมือง วัดปรางค์หลวง พระอุโบสถเก่า วัดสักน้อย ตำหนักประถม ถนนพิบูลสงคราม ค่ายพิทักษ์บางบัวทอง (ค่ายญี่ปุ่นบางบัวทอง) ทางรถไฟสายบางบัวทอง สนามบินน้ำ และสถานที่ท่องเที่ยวของนนทบุรี ได้แก่ เกาะเกร็ด วัดเสาธงทอง วัดไผ่ล้อม วัดปรมัยยิกาวาส (วัดปากอ่าว) วัดเสาธงทอง วัดบางจาก วัดฉิมพลีสุทธาวาส วัดเล่งเน่ยยี่ 2 วัดเฉลิมพระเกียรติวรวิหาร คลองขนมหวาน ตลาดน้ำวัดแสงสิริธรรม ตลาดน้ำไทรน้อย ตลาดน้ำวัดตะเคียน ตลาดริมน้ำวัดใหญ่สว่างอารมณ์ พิพิธภัณฑ์เขาสัตว์ ถนนสายดอกไม้ บ้านครูมนตรีตราโมท (บ้านโสมส่องแสง)

ด้วยประวัติศาสตร์ เรื่องราวความเป็นมา ตลอดจนเชื้อชาติที่หลากหลาย ร่วมกันเกิดเป็นบริบทของชุมชนแบบพหุวัฒนธรรมและพื้นที่ทางวัฒนธรรมในจังหวัดนนทบุรี ได้หล่อหลอมให้เกิดทุนวัฒนธรรมที่หลากหลาย เป็นอัตลักษณ์ของพื้นที่ ซึ่งผู้ประกอบการสามารถนำทุนวัฒนธรรม มาพัฒนาให้เกิดเป็นสินค้า/บริการ ที่มีจุดเด่นของตนเอง จะสามารถสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าและความยั่งยืนให้การประกอบการได้เป็นอย่างดี

Products

สรุป โครงการพัฒนาชุมชนเชิงสร้างสรรค์บนฐานทุนทางวัฒนธรรมชุมชน

หลักสูตรการอบรม

หลักสูตรการอบรม

หลักสูตรการอบรม

หลักสูตรการอบรม

หลักสูตรการอบรม

หลักสูตรการอบรม

หลักสูตรการอบรม

หลักสูตรการอบรม

หลักสูตรการอบรม